ทุกวันนี้ Container กำลังมาแรง และได้รับการตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดของ Cloud ซึ่งประกอบด้วย Docker เป็นตัวนำ ก็ถือได้ว่ามีคนใช้งานเป็นจำนวนไม่น้อย เป็นอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ ซึ่งเราก็มีขั้นตอนในการติดตั้ง Application ลง Container 5 ขั้นตอนมาฝาก
สำหรับผู้ที่จะทดลองใช้ Docker เพื่อให้รู้แนวทางการใช้งานคร่าวๆ ดังนี้
- แยกส่วน (Decompose)
โดยปกติ Application มักจะมีองค์ประกอบอยู่หลายส่วน โดยส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาระบบ Database และ Middleware Service สำหรับ Data Storage, Retrieval และ Integration เพราะฉะนั้นต้องแตก Service เหล่านี้ออกมาใส่ไว้ใน Container แยกเอาไว้เป็นส่วนๆ ด้วยการ Design และ Deployment ซึ่งมีการกระจายตัวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความสามารถในการ Scale ได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายถึงความซับซ้อนในการบริหารจัดการก็จะมากขึ้นเช่นกัน
- เลือก Base Image
เราไม่ควรสร้างอะไรขึ้นมาในขณะที่ย้าย (Migrate) Application ควรจะหา Basic Docker Image จาก Docker Registry มาใช้เป็นพื้นฐานของ Application แทน โดยเมื่อเวลาผ่านไป หลายๆ องค์กรจะเริ่มเห็นค่าของ Docker Registry base Image ที่เพิ่มมากขึ้นเอง
- จัดการ Security และ Governance ให้เรียบร้อย
ความสำคัญของระบบ Security และ Governance ควรจะมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นเราจึงไม่ควรที่จะละเลย และใส่เพิ่มลงใน Container ภายหลัง ซึ่งองค์กรจะต้องวางแผนระบบ Security และ Governance มาตั้งแต่แรก โดยออกแบบมันเข้าไปใน Application และจัดการให้เรียบร้อยในระหว่างอยู่ในขั้นตอน Operation เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- เพิ่ม Code
ในการสร้าง Image องค์กรต้องมีการใช้ Dockerfile ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนจำเป็นของงานนี้ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงสามารถเพิ่มเข้าไป Docker Hub ได้
- Configure, Test, Deploy
จะต้องมีการตั้งค่า (Configure) ตัว Application ที่รันอยู่ภายใน Container เพื่อให้เชื่อมต่อกับ Resource ภายนอก และ Container ตัวอื่นภายใน Application Cluster นั้นได้ โดยสามารถติดตั้งการตั้งค่าเหล่านี้ลงไปใน Container เลย หรือจะใช้ Environment Variable ก็ได้
แม้ว่าการขนย้าย Application ไป Container จะมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร แต่เรียกได้ว่าบาง Application ที่ย้ายไปบน Cloud เหมาะสม จนเรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อ Container เลยก็ว่าได้ ซึ่งประโยชน์ก็คือ ช่วยให้ Application มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นนั่นเอง